CMYK ย่อมาจาก cyan (ฟ้าอมเขียว) magenta (แดงอมม่วง) yellow (เหลือง) key (สีดำ – ไม่ใช้ B แทน black เพราะจะสับสนกับ blue) ซึ่งเป็นชื่อสีที่นำมาใช้ การผสมสีทั้งสี่นี้ จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี ซึ้งนำมาใช้ในการพิมพ์สติ๊กเกอร์ ฉลากสินค้า ชนิดต่างๆซึ่งปกติการเลือกใช้สีในการพิมพ์ ร้านสติ๊กเกอร์ ฉลากสินค้านั้น จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบคือ CMYK และ RGB สามารถแบ่งแยกประเภทการใช้งานได้ง่ายๆนั้นก็คือ ถ้าเป็นสีที่ต้องพิมพ์สติ๊กเกอร์ ฉลากสินค้า ออกมา ไม่ว่าจะพิมพ์ในกระดาษแบบใดก็ตาม จะต้องใช้ค่าสีของ CMYK แต่ถ้าต้องการสีที่แสดงผลออกทางหน้าจอ
ก็จะเลือกใช้ RGB เท่านั้น ซึ่งหลักการดังกล่าว ในปัจจุบัน ยังมีผู้มีความเข้าใจในส่วนนี้น้อยมาก เนื่องจากว่า นักออกแบบมือสมัครเล่น หรือ มือใหม่ เวลาต้องการจะทำงานประเภทสิ่งพิมพ์ งานพิมพ์สติ๊กเกอร์ ฉลากสินค้า ก็มักตั้งค่าสีเป็น RGB เพราะว่าค่าสีดังกล่าวสีสดกว่า แต่เมื่อสั่งพิมพ์สติ๊กเกอร์ ฉลากสินค้าแล้ว ทำให้ค่าสีที่ออกมาผิดเพี้ยน มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสีที่เลือก เช่น เลือกสีแดง อาจจะได้สีชมพู เหลือสีม่วง อาจจะได้สีน้ำเงิน ดังนั้นผู้ที่ใช้โหมดสี ก็ควรจะทำความเข้าใจของงานพิมพ์สติ๊กเกอร์ ฉลากสินค้า ให้มาก เพื่องานที่ออกมาจะได้ค่าสีที่ตรงกับความต้องการการกำหนดค่าสี RGB ในส่วนของ RGB การเลือกสีต่างๆนั้น
สามารถเลือกได้ถึง 2 สี – 16 ล้านสี (ข้อมูลอ้างอิงจากกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปี 2545) โดยการเข้ารหัสสี สามารถเลือกเฉดสีได้ด้วยลักษณะของชุดรหัสตัวเลข 0-9 และ A-F ปนกันไปจนครบ 6 ตัวอักษรเท่านั้น เช่น 000000 = สีดำ FFFFFF = สีขาว FF0000 = สีแดง ดังนั้น ผู้ใช้สี สามารถกำหนดสีได้ต่างๆมากมาย โดยใช้ตัวอักษรปะปนกันไป เพราะสามารถสร้างแบบหรือกำหนดสีได้มากกว่ 16 ล้านรูปแบบ ( เช่น AC01B22, 522AA6, F2D3A0 โดยชุดดังกล่าวจะเป็นสีต่างๆเพียงแค่กฎการใช้ คือใช้ตัวเลขใดๆก็ได้ 0-9 จะกี่ตัวก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 6 ตัวอักษร แต่ถ้าจะมีอักษรภาษาอังกฤษผสมด้วย ก็สามารถเอามาใช้ได้ แต่จะเลือกใช้ได้ตั้งแต่ A-B-C-D-E-F เท่านั้น นับตั้งแต่ตัว G ขึ้นไปจะไม่สามารถประเมินผลได้